เชือกช่วยชีวิตพร้อมถุง
เชือกช่วยชีวิต อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ Water Rescue Equipment/ Rescue Tube เชือกลอยน้ำ น้ำหนักเบา นิยมใช้ในงานกู้ชีพทางน้ำ เหมาะสำหรับเป็นสายดึงนักประดาน้ำ ดำน้ำดูปะการัง พายเรือ ลากจูงเรือขนาดเล็ก ว่ายน้ำ หรือกู้ภัยทางน้ำ
มีให้เลือก 2 ขนาด
1. ขนาดเชือก 8 มม. ยาว 30 เมตร
2. ขนาดเชือก 10 มม. ยาว 30 เมตร
รายละเอียดสินค้า
- ผลิตจากโพลีโพรพิลิน
- ถุงสำหรับเก็บเชือก มีขนาดกะทัดรัด ผลิตจากผ้าสีส้มสะท้อนแสง พร้อมแถบสะท้อนแสง จัดเก็บง่าย
- สีสะท้อนแสง ลอยน้ำ เพื่อให้เรือหรือหน่วยกู้ภัยสามารถมองเห็นตัว สามารถสังเกตได้ง่ายในเวลากลางคืน
- มีห่วงสำหรับมือจับขนาด 17 ซม.
- เหมาะสำหรับนักประดาน้ำ ดำน้ำดูปะการัง พายเรือ ตกปลา ว่ายน้ำ ลากจูเรือขนาดเล็ก หรืองานกู้ภัยทางน้ำอื่นๆ
วิธีเก็บรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งาน
- ควรแขวนเก็บรักษา
- ในห้องทีอุณหภูมิไม่เกิน 27 องศา ไม่เหมาะกับห้องทีมีอากาศร้อนและโดนแดดโดยตรง
การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ การช่วยเหลือ มี 2 วิธี
1.ผู้ช่วยอยู่บนฝั่งบนตลิ่งบนเรือผู้ช่วยไม่เปียก ปลอดภัยแน่นอน จากนั้นก็ช่วยด้วย
- 1.1 การยื่นอุปกรณ์ให้คนตกน้ำจับ เช่น เสื้อ กางเกง ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดตัว เข็มขัด กิ่งไม้ ท่อนไม้ ไม้ง่ามลูกเสือ ตามสระว่ายน้ำก็จะมี HOOK (ไม้ตะขอ) เตรียมไว้สำหรับช่วยผู้ประสบภัย
- 1.2 การโยนอุปกรณ์ที่ลอยน้ำให้คนตกน้ำจับหรือเกาะ เช่น ขวดน้ำ ถังพลาสติก ห่วงชูชีพ ยางในรถยนต์ และเราอาจจะเอาเชือกมาผูกอุปกรณ์เหล่านั้น เพื่อที่จะลากคนตกน้ำเข้าฝั่ง หรือหากโยนพลาดก็สาวเข้ามาแล้วโยนให้อีกครั้งหนึ่ง
- 1.3 การลุยน้ำออกไปช่วย ในพื้นที่ที่ระดับน้ำตื้นยืนถึง เช่น ในลำธาร น้ำตก หรือชายทะเล ที่เราสามารถจะลุยน้ำออกไปได้ ก็ควรจะลุยน้ำออกไปแล้วใช้อุปกรณ์ตามข้อ 1.1 หรือ 1.2 ยื่น หรือโยนให้คนตกน้ำจับแล้วพาเข้าฝั่งข้อ 1.1-1.3 เป็นวิธีการช่วยคนตกน้ำที่มีความปลอดภัยเกือบจะ 100 % เพราะเราผู้ช่วยอยู่บนฝั่งหรือยืนได้ในน้ำตื้น
- 1.4 การใช้เรือออกไปช่วยเรือในที่นี้หมายถึงเรือหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีขนาดใหญ่พอควร ลอยน้ำได้ แล้วตัวเราอยู่ข้างบนหรือข้างใน เช่น กระดานโต้คลื่น กระดานเล่นใบ เจ็ทสกี เรือพาย เรือแคนู เรือกรรเชียง เรือใบ ฯลฯ ประเภทเรือนี่มีหลายขนาดนัด ปกติเมื่อเคลื่อนเข้าไปใกล้ตัวคนตกน้ำ ก็จะใช้อุปกรณ์ตามข้อ 1.1 , 1.2 ยื่นหรือโยนให้คนตกน้ำจับแล้วพาเข้าหาเรือ หากเป็นเรือขนาดเล็ก ต้องระมัดระวังหากจะให้คนตกน้ำปีนขึ้นทางกราบเรือ เรืออาจจะพลิกคว่ำได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ ให้ขึ้นทางท้ายเรือ อย่าลืมดับเครื่องด้วยหากเป็นเรือเครื่องที่มีใบพัด แต่ถ้าเป็นเรือใหญ่ ๆ จะขึ้นด้านใดก็ได้
2.การกระโดดลงน้ำแล้วว่ายเข้าไปช่วยคนจมน้ำ หรือตกน้ำ
วิธีแบบนี้อันตรายมาก เพราะจะทำให้คนช่วยเสียชีวิตมาเยอะแล้ว เนื่องจากไม่รู้วิธีการช่วยที่ถูกต้อง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งนักว่ายน้ำ คนว่ายน้ำเก่ง ๆ ตายเพราะว่ายน้ำเข้าไปช่วย
- 2.1) การลงน้ำไปช่วยคนตกน้ำ จมน้ำ จำไว้ว่าต้องเอาอุปกรณ์ช่วยไปด้วย เช่น แท่งโฟมยาว ๆ (Kick board ซึ่งถ้าหากเล็กและสั้นเกินไป ก็จะไม่ปลอดภัย) ห่วงหรือยางในรถยนต์ หรือเราใส่เสื้อชูชีพไป เมื่อว่ายน้ำเข้าไปจวนถึงตัวคนตกน้ำ ให้หยุดอยู่ห่าง ๆ แล้วใช้อุปกรณ์ที่เอาไปด้วยยื่น หรือโยนให้คนตกน้ำเกาะ อย่าพยายามเข้าไปจนถึงตัวคนตกน้ำ เพราะเขาอาจจะเข้ามากอดเราแน่นเสียจนแกะไม่ออก และจะพาเราจมน้ำไปด้วย หากไม่มีอุปกรณ์ก็ให้ใช้ผ้าเช็ดตัวตัว ผ้าขาวม้า เข็มขัด หรืออะไรก็ได้ที่ยาว ๆ หน่อย จะได้ป้องกันไม่ให้เราต้องเข้าไปใกล้เขามากเกินไป ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ก็จะดีมาก เพราะเมื่อยื่นให้เขาจับหรือเกาะแล้วเขาก็จะลอยน้ำอยู่ได้ ความตื่นตกใจก็จะลดลง ทำให้เราช่วยได้ปลอดภัยมากขึ้น หากยื่นให้แล้วเขายังตกใจ และโผเข้ามาจะกอดเรา ก็ให้รีบดำน้ำหนี รับรองเขาไม่ดำตามเราลงไปแน่ ๆ
- 2.2) การลาก/พา การลาก / พา คนจมน้ำที่สงบพวกว่ายน้ำเป็น หมดแรง หรือเป็นตะคริว ไม่ตื่นตกใจ ลากพาง่าย เบาแรง ไม่ค่อยมีอันตราย การลาก / พา คนจมน้ำที่ตื่นตกใจ กลัวจมน้ำตาย พวกนี้ต้องใช้ท่า Cross chest (เอารักแร้เราหนีบบนบ่าคนจมน้ำ แขนพาดผ่านหน้าอกแบบสะพายแล่ง ไปจับซอกรักแร้อีกด้านของคนจมน้ำ) ว่ายน้ำด้วยท่า Side stroke ท่านี้เหนื่อยหนักแรง และมีอันตรายมากๆ คนจมน้ำที่สลบ ต้องใช้ท่าลาก / พา ที่ประคองหน้าคนจมน้ำให้พ้นน้ำตลอด เพื่อที่ปากและจมูกของเขาจะพ้นน้ำ ทำให้หายใจได้ตลอด
สั่งซื้อสินค้ามีจำนวน/ สนใจสินค้า/ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่