เสื้อสะท้อนแสงสนามบิน ช่วยให้การทำงานในสนามบินปลอดภัย พร้อมข้อปฏิบัติและอุปกรณ์ Safety

Key Takeaways:

  • เรียนรู้พื้นที่ต่าง ๆ ในท่าอากาศยานว่าแต่ละส่วนเรียกว่าอะไร รวมไปถึงข้อควรปฏิบัติเบื้องต้นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในเขตการบินอย่างปลอดภัย
  • เจาะลึกเครื่องแต่งกายเมื่อต้องปฏิบัติงานในเขตสนามบิน ไขข้อสงสัยว่าอุปกรณ์ Safety อย่างเสื้อสะท้อนแสงสนามบินและเสื้อกันฝนที่ใช้ปฏิบัติหน้าที่มีเกณฑ์อย่างไรบ้าง

อย่างที่ทราบกันดีว่าสนามบินนับเป็นหนึ่งในสถานที่ที่เรียกได้ว่ามีความวุ่นวายสูง เพราะพลุกพล่านไปด้วยผู้คนทั้งผู้มาใช้บริการและเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการในภาคส่วนต่าง ๆ ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสนามบินนั้นต้องทำตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด


ในบทความนี้ OT Intertrade จะพาทุกคนมาดูข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการปฏิบัติหน้าที่ในสนามบิน หรือลานจอดเครื่องบิน พร้อมเจาะลึกเกณฑ์ของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอย่างเสื้อสะท้อนแสงสนามบินและเสื้อกันฝนสนามบิน ว่ามีเกณฑ์อะไรบ้างถึงจะสามารถสวมในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสนามบินได้

ความจำเป็นของเสื้อสะท้อนแสงสนามบินและเสื้อกันฝน

อย่างที่ทราบกันดีว่าอุปกรณ์เซฟตี้ถูกผลิตขึ้นมาในวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้สวมใส่ เสื้อสะท้อนแสงสนามบิน และเสื้อกันฝนก็ถูกใช้ในวัตถุประสงค์เดียวกัน โดยผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตสนามบินจำเป็นต้องใส่เสื้อสะท้อนแสงเพื่อให้สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะในเวลากลางคืนและในช่วงที่ทัศนวิสัยย่ำแย่ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวผู้ปฏิบัติงานและลดการเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและอากาศยานในสนามบิน และใส่เสื้อกันฝนเพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่ฝนตก

การปฏิบัติหน้าที่ในสนามบินนั้นมีรายละเอียดของระเบียบและความรับผิดชอบที่แตกต่างกันตามพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ประจำอยู่ โดยปกติแล้วเราจะเรียกพื้นที่ที่ปฏิบัติงานว่า เขตการบิน (Airside) หรือ พื้นที่เคลื่อนไหว (Movement area) สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 พื้นที่หลัก ได้แก่

  1. พื้นที่ขับเคลื่อน (Maneuvering area) คือ พื้นที่ถนนที่ให้เครื่องบินวิ่งขึ้น (Takeoff) หรือบินลง (Landing)
  2. ลานจอดอากาศยาน (Apron) คือ พื้นที่ในสนามบินที่มีไว้เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถขึ้น-ลงจากเครื่องบิน รวมทั้งใช้เพื่อการขนถ่ายสินค้า/สิ่งของ เติมเชื้อเพลิงเครื่องบิน หรือจอดซ่อมบำรุง เป็นต้น
เสื้อสะท้อนแสงสนามบิน

ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยเมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ในสนามบิน

  1. บุคคลที่ผ่านเข้า-ออกพื้นที่เขตการบิน จะต้องผ่านการตรวจค้นร่างกายและสัมภาระติดตัวทุกครั้ง
  2. ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการบิน ต้องติดบัตรอนุญาตตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ และต้องติดไว้ในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
  3. ห้ามสลับ สับเปลี่ยน หรือนำบัตรอนุญาตของบุคคลไปให้ผู้อื่นใช้โดยเด็ดขาด
  4. ห้ามนำบัตรอนุญาตบุคคลที่หมดอายุมาใช้งาน
  5. ห้ามดื่มสุราหรืออยู่ภายใต้ฤทธิ์ยา รวมถึงสารที่มีส่วนประกอบของกัญชา กระท่อม หรือสารเสพติดชนิดต่าง ๆ ขณะปฏิบัติหน้าที่ (ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายต้องเป็นศูนย์)
  6. เมื่อพบเห็นวัตถุแปลกปลอม (FOD:Foreign Object Debris) อยู่ในพื้นที่เคลื่อนไหว และเป็นวัตถุที่ไม่ได้มีหน้าที่หรือเป็นประโยชน์ในการใช้งานทางการบิน และอาจเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติการของอากาศยาน ให้เก็บไปทิ้งถังขยะหรือนำไปไว้ที่กล่องเก็บวัตถุแปลกปลอม
  7. ห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดในระยะ 3 เมตรจากอุปกรณ์เติมน้ำมัน จุดเติมน้ำมัน หรือท่อระบายอากาศของระบบเชื้อเพลิงอากาศยาน
  8. ห้ามเข้าใกล้ด้านหน้าของเครื่องยนต์อากาศยานในระยะน้อยกว่า 7.5 เมตร ในขณะที่อากาศยานติดเครื่องยนต์อยู่ และห้ามผ่านด้านหลังของอากาศยานโดยเด็ดขาด
  9. บุคคลที่ไม่มีหน้าที่หรือภารกิจที่เกี่ยวข้อง ห้ามเข้าไปในพื้นที่หลุมจอดอากาศยานโดยเด็ดขาด แม้ว่าจะไม่มีอากาศยานจอดอยู่ในบริเวณก็ตาม

หากไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ จะมีบทลงโทษอย่างไร?

  1. สับเปลี่ยนหรือนำบัตรอนุญาตบุคคลไปให้ผู้อื่นใช้ มีโทษยึดบัตรอนุญาตบุคคล 15 วัน
  2. ก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่ออากาศยาน มีโทษยึดบัตรอนุญาตบุคคล 30 วัน
  3. สูบบุหรี่หรือกระทำการที่ทำให้เกิดประกายไฟภายในเขตการบิน มีโทษยึดบัตรอนุญาตบุคคล 7 วัน และเปรียบเทียบปรับ 5,000 บาท
  4. หากไม่ปฏิบัติตามกฎที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในเขตการบิน และมีความผิดตามกฎหมาย จะต้องถูกพิจารณาโทษตามกฎหมายนั้น ๆ ร่วมด้วย
เสื้อสนามบิน

อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย: เสื้อสะท้อนแสงสนามบินและเสื้อกันฝน

อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยหรืออุปกรณ์เซฟตี้ผลิตและถูกใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สนามบิน (พนักงานต้อนรับภาคพื้น) หรือพนักงานทำความสะอาด ฯลฯ ทั้งนี้ก็มีข้อกำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สำคัญต่อความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการบิน อย่างเสื้อสะท้อนแสงสนามบินที่มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเวลากลางคืน และเสื้อกันฝนที่สำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่ฝนตก

แล้วเกณฑ์ที่ใช้เป็นมาตรฐาน* ในการบอกว่าเสื้อสะท้อนแสงสนามบินและเสื้อกันฝนเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตการบินได้ มีอะไรบ้าง? ไปดูกันด้านล่างนี้ได้เลย

*อ้างอิงจากเอกสาร “คู่มือฝึกอบรมความปลอดภัยในการปฎิบัติงานในเขตการบินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ : 5 ตุลาคม 2565” อ่านเพิ่มเติม คลิก

เสื้อสะท้อนแสงสนามบินและเสื้อกันฝน

ข้อกำหนดเกี่ยวกับเสื้อสะท้อนแสงที่ใช้งานในเขตการบิน

  1. สีพื้นของวัสดุที่ใช้ในการทำเสื้อสะท้อนแสงสนามบิน ต้องเป็นสีเหลืองหรือสีเขียวมะนาว
  2. ต้องใช้เสื้อสะท้อนแสงตามรูปแบบที่กำหนด โดยให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาแบบของเสื้อสะท้อนแสง (ติดเทปหรือซิปตรงกลางด้านหน้า หรือติดเทปด้านข้างเพื่อปรับขนาดตามลำตัวของผู้สวม) ตามความเหมาะสมของภารกิจ*
  3. เสื้อสะท้อนแสงสนามบินต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 0.5 ตารางเมตร เป็นวัสดุพื้นหลัง มีพื้นที่อย่างน้อย 0.13 ตารางเมตร เป็นวัสดุสะท้อนแสง และแถบสะท้อนแสงต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร
  4. ต้องเป็นเสื้อสะท้อนแสงที่สามารถมองเห็นได้เด่นชัดในระยะไกลเมื่อสวมใส่ ทั้งในเวลากลางคืนและในสภาวะทัศนวิสัยต่ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุยานพาหนะชนผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่
  5. ต้องติดหรือพิมพ์ตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานบนเสื้อสะท้อนแสง โดยมีอักษรย่อชื่อหน่วยงาน และ Running Number ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งต้องทำด้วยวัสดุสะท้อนแสงเพื่อให้ง่ายต่อการแสดงสังกัดและระบุตัวตน
  6. สามารถเพิ่มกระเป๋า ช่องใส่บัตร และช่องสำหรับเสียบวิทยุสื่อสารบนเสื้อสะท้อนแสงได้ โดยขนาดหรือตำแหน่งติดตั้งต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุในข้อ 2

*ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน BS EN 471 Class 2, มาตรฐาน ANSI 107 Class 2 หรือมาตรฐานตามประกาศกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ซึ่งมาตรฐานที่ยอมรับ ได้แก่ มอก., ISO, EN, ENSI, AS/NZS, JIS, NIOSH, OHSA และ NFPA

ข้อกำหนดเกี่ยวกับเสื้อสะท้อนแสงสนามบิน

ข้อกำหนดเกี่ยวกับเสื้อกันฝนที่ใช้งานในเขตการบิน

  1. ต้องใช้เสื้อกันฝนที่ติดแถบสะท้อนแสงตามรูปแบบที่กำหนด โดยให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาแบบของเสื้อกันฝน (เสื้อคลุม / ชุดหมี / แยกส่วนเสื้อ-กางเกง) ตามความเหมาะสมของภารกิจ*
  2. สีพื้นของวัสดุที่ใช้ในการทำเสื้อกันฝนต้องเป็นสีเหลือง**
  3. เสื้อกันฝนต้องทำจากผ้าโพลีเอสเตอร์ เพื่อให้สามารถกันน้ำได้
  4. หากเป็นเสื้อกันฝนที่มีหมวก ต้องเย็บหมวกติดกับตัวเสื้อเพื่อป้องกันการปลิวหลุดเป็น FOD
  5. มีช่องใส่บัตรบนเสื้อกันฝน เพื่อให้สามารถมองเห็นบัตรรักษาความปลอดภัยบุคคลขณะที่สวมใส่ได้ตลอดเวลา
  6. ต้องติดหรือพิมพ์ตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานบนเสื้อกันฝน โดยมีอักษรย่อชื่อหน่วยงาน และ Running Number ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้ง่ายต่อการแสดงสังกัดและระบุตัวตน

*ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน BS EN 471 Class 3 หรือ มาตรฐาน ANSI 107 Class 3 คือ มีพื้นที่อย่างน้อย 0.8 ตารางเมตร เป็นวัสดุพื้นหลัง และมีพื้นที่อย่างน้อย 0.2 ตารางเมตร เป็นวัสดุแถบสะท้อนแสง
**ยกเว้นฝ่ายดับเพลิงและกู้ภัย ให้ใช้สีพื้นเป็นสีส้มติดแถบสะท้อนแสง

เสื้อสะท้อนแสงตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในสนามบิน

สำหรับหน่วยงานหรือสายการบินที่กำลังมองหาอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ทั้งเสื้อสะท้อนแสงสนามบิน และเสื้อกันฝน เพื่อเสริมความปลอดภัยและลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในเขตการบิน OT Intertrade เป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เซฟตี้ที่ได้รับความไว้วางใจมาอย่างยาวนานกว่า 39 ปี การันตีคุณภาพสินค้า ได้มาตรฐานและผ่านการรับรองตามหลักสากล สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับให้เข้ากับการทำงานในสถานที่เฉพาะได้อย่างมีคุณภาพ

ติดตามสาระครามรู้และเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับสินค้าและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยได้ที่

⛑️ | 🚧| LINE: @otintertrade

⛑️ | 🚧| Phone: 02-197-5945 (7 lines)

⛑️ | 🚧| Email: [email protected]

⛑️ | 🚧| Website: https://www.otintertrade.com/

⛑️ | 🚧| Facebook: https://www.facebook.com/OTIntertrade/

⛑️ | 🚧| YouTube:https://www.youtube.com/@otintertrade59

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่