ชุดช่างแตกต่างจากชุดยูนิฟอร์มปกติอย่างไร
วัสดุและการตัดเย็บชุดยูนิฟอร์มช่าง ชุดช่างประปา ชุดช่างเครื่องยนต์ ชุดช่างไฟฟ้า มีลักษณะอย่างไร
ชุดยูนิฟอร์มนอกจากมีประโยชน์ในการบ่งบอกถึงอาชีพของแต่ละคนแล้ว ข้อดีของเสื้อฟอร์มพนักงานในอีกด้านหนึ่งคือ ทำให้รู้สึกเป็นทีมเดียวกันและเท่าเทียมกัน เนื่องจากทุกคนสวมใส่ชุดที่เหมือนกันและทำให้ไม่มีข้อแตกต่างในเรื่องการแต่งกาย ทำให้ไม่นำมาซึ่งข้อเปรียบเทียบในด้านของฐานะหรือตำแหน่งภายในองค์กร อีกทั้งยังส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ผู้ที่มาใช้บริการจะรู้สึกถึงความน่าเชื่อถือขององค์กร เนื่องจากการสวมใส่ชุดยูนิฟอร์มที่เหมือนๆกัน จะสร้างความรู้สึกเชื่อถือองค์กรนี้ตั้งแต่แรกพบ นอกจากนั้นชุดยูนิฟอร์มยังเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ซึ่งในบางองค์กรนั้นออกแบบชุดยูนิฟอร์มมาเพื่อช่วยเพิ่มความสบายให้ผู้ที่สวมใส่ เพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย เสริมสร้างความปลอดภัย ทั้งหมดนั้นเพื่อที่พนักงานที่สวมใส่จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกชุดยูนิฟอร์มที่ดี จึงเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการทำงานในองค์กรและการให้บริการแก่ลูกค้า
ในสายอาชีพช่างเอง ก็สามารถแบ่งหมวดหมู่การทำงานของช่างได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ซึ่งช่างเหล่านี้ บางคนทำงานอยู่กลางแจ้งพบเจอแดดร้อนและฝุ่นควัน บางคนทำงานในออฟฟิศ บางคนทำงานโรงงานอุตสาหกรรม เสื้อยูนิฟอร์มจึงควรมีเนื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ซึบซับเหงื่อ เพื่อที่จะทำให้ไม่เกิดกลิ่นอับหรือความร้อนที่มากเกินไปในระหว่างการทำงาน และในส่วนของกางเกงช่าง ควรเลือกรูปแบบที่สวมใส่สบาย ไม่ร้อนระบายอากาศได้ดี ลักษณะยืดหยุ่นไม่เข้ารูปจนเกินไป เพื่อที่จะสามารถใส่ปฏิบัติงานได้ในหลากหลายรูปแบบ
หากเปรียบเทียบชุดยูนิฟอร์มช่างกับอาชีพอื่นๆที่สวมชุดยูนิฟอร์มเหมือนๆกันนั้น จะเห็นได้ว่าชุดช่าง ชุดหมีช่าง เสื้อช่างและกางเกงช่าง ยูนิฟอร์มช่างจะมีข้อแตกต่างของชุดที่แสดงออกถึงความแตกต่างจากชุดยูนิฟอร์มของอาชีพอื่นๆที่เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่
ชุดช่างมีช่องแขนด้านซ้ายมีช่องใส่ปากกา/ คัตเตอร์/ ไขควง จำนวน 2 ช่อง :
เพราะปากกาเป็นสิ่งที่ใช้เพื่อการจดบันทึก ที่เกือบทุกอาชีพจำเป็นต้องมีไว้ใกล้ๆมือ จุดเด่นของเสื้อช่างที่ไม่เหมือนกับชุดยูนิฟอร์มของอาชีพไหนคือ
ช่องเหน็บปากกาที่อยู่บริเวณทางด้านแขนซ้าย ซึ่งจริงอยู่ว่าชุดยูนิฟอร์มในอาชีพอื่นๆเอง ก็มีช่องสำหรับใส่ปากกาเช่นกัน ดังที่เห็นได้จากการเหน็บปากกาบริเวณเสื้อกาวน์ของแพทย์ หรือเหน็บปากกาไว้ที่ชุดยูนิฟอร์มของพยาบาล อาชีพเหล่านั้นไม่ได้มีช่องเหน็บปากกาโดยเฉพาะ แต่เป็นการเหน็บปากกาไว้ที่บริเวณกระเป๋าเสื้อด้านหน้าเท่านั้น ต้นเหตุสำคัญที่เสื้อช่างต้องมีช่องสำหรับเหน็บปากกาไว้ทางด้านแขนซ้ายคือ สะดวกต่อการหยิบใช้ เนื่องจากการทำงานของช่าง อาจจะต้องมีอิริยาบททั้งการก้ม เงย หรือการปีนขึ้นที่สูง เพราะฉะนั้นการเหน็บปากกาไว้ด้านข้างของเสื้อช่าง จึงมีความสะดวกมากกว่าและป้องกันการที่ปากกาจะตกพื้น นอกจากนี้ช่องบริเวณแขนด้านซ้ายยังสามารถใส่คัตเตอร์หรือไขควง ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักของช่างเพิ่มเติมได้อีกด้วย
เสื้อช่าง กางเกงช่าง ชุดช่างจะมีแถบผ้าที่สะท้อนต่อแสง :
ทั้งเสื้อช่างและกางเกงช่างนั้น จำเป็นที่จะต้องมีแถบผ้าที่สะท้อนแสงได้ เนื่องจากบางครั้งต้องปฏิบัติในที่มืด ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม การมีแถบผ้าสะท้อนแสดงจะทำให้สังเกตเห็นช่างได้ง่าย หากเปรียบเทียบกับชุดยูนิฟอร์ม ของอาชีพทหาร ที่มีลักษณะเป็นสีเขียว เพื่อพรางตัวไม่ให้ศัตรูเห็น และให้กลมกลืนไปกับสีของต้นไม้ ไม่เป็นจุดสังเกตได้ง่าย ซึ่งแตกต่างกับชุดยูนิฟอร์มของอาชีพช่างโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ แถบผ้าสะท้อนแสง จะทำให้ผู้สวมใส่เห็นชัดในเวลากลางคืน ทำให้ปลอดภัยจากการเฉี่ยวชนจากยานพาหะนะต่าง ๆ เช่น พนักงานซ่อมรถที่ต้องยกรถออกจากท้องถนนหรือทางด่วนในเวลากลางคืน อนึ่งแถบสะท้อนแสง มีหลากหลายชนิดให้เลือกขึ้นอยุ่กับ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงไร ความคงทนของแถบสะท้อนแสง กล่าวคือ แถบผ้าสะท้อนแสง จะทำให้ผู้สวมใส่เห็นชัดในเวลากลางคืน ทำให้ปลอดภัยจากการเฉี่ยวชนจากยานพาหะนะต่าง ๆ เช่น พนักงานซ่อมรถที่ต้องยกรถออกจากท้องถนนหรือทางด่วนในเวลากลางคืน อนึ่งแถบสะท้อนแสง มีหลากหลายชนิดให้เลือกขึ้นอยุ่กับ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงไร ความคงทนของแถบสะท้อนแสง และงบ
เนื้อผ้าที่ใช้การตัดเย็บชุดช่าง :
ชุดหมีช่าง เสื้อช่างและกางเกงช่างนั้น จะใช้เนื้อผ้าในการตัดเย็บที่มีลักษณะแตกต่างกับชุดยูนิฟอร์มอื่นๆอย่างชัดเจน ชุดยูนิฟอร์มของช่างมักนิยมตัดเย็บด้วยผ้าคอมทวิวและผ้าเวสปอยท์ ในส่วนของผ้าคอมทวิวจะมีสัดส่วนของ Polyester 35% และ Rayon 65% มีคุณสมบัติคือ เป็นผ้าทอลายสอง เนื้อหนาปานกลาง มีน้ำหนัก ทิ้งตัวดี เหมาะสำหรับทำชุดพนักงาน ในโรงงาน และผ้าเวสปอยท์ จะผลิตจาก Cotton 100% ซึ่งมีคุณสมบัติคือ สวมใส่สบาย ไม่ร้อน ระบายอากาศได้ดี เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อนและไฟ และซึ่งผ้าเวสปอยท์จะสามารถป้องกันสะเก็ตไฟได้ดี เช่น งานที่เกี่ยวกับช่างเชื่อม และช่างเจียรเหล็ก หรือ ช่างหล่อเหล็ก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับชุดยูนิฟอร์มที่ต้องมีการเคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลาและต้องการภาพพจน์ที่ดี อย่างชุดยูนิฟอร์มของอาชีพตำรวจ นั้น จะใช้เนื้อผ้าในการตัดเย็บที่ไม่เหมือนกันเลย กล่าวคือชุดยูนิฟอร์มของตำรวจ จะเน้นใช้ผ้าชนิดผ้าโทเร มากกว่าที่มีความคงทน หดน้อย ดูแลรักษาง่าย และสามารถรีดให้เรียบได้ง่าย ยับยาก ทำให้ผู้สวมใส่ดูดีอยู่เสมอ
อุปกรณ์เซฟตี้อื่นๆสำหรับงานช่าง :
รองเท้าเซฟตี้ หมวกนิรภัย หมวกเซฟตี้ แว่นตานิรภัย แว่นตาเซฟตี้ หน้ากาก , ที่อุดหูและที่คลอบหู เข็มขัดพยุง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นอุปกรณ์งานช่างที่ขาดไม่ได้ของช่างทุกประเภท สามารถจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดยูนิฟอร์มช่างได้ด้วยเช่นกัน
แถบผ้าสีเงินที่สามารถสะท้อนแสง เพื่อที่สามารถสังเกตเห็นได้แม้อยู่ในที่มืด การที่มีช่องแขนด้านซ้ายมีช่องใส่ปากกา คัตเตอร์ ไขควง และอุปกรณ์เล็กๆ เนื้อผ้าที่ใช้ในการตัดเย็บ และอุปกรณ์เซฟตี้ ที่เป็นเสมือนหนึ่งในเครื่องแต่งกายของช่าง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ชุดยูนิฟอร์มช่าง แตกต่างจากชุดยูนิฟอร์มของอาชีพอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า อาชีพช่างก็ยังสามารถแบ่งแยกย่อยไปได้อีกหลายสาขา เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างยนต์ ที่ก็ยังคงสวมใส่ชุดยูนิฟอร์มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างกันในบางประการ เนื่องจากลักษณะงาน ก็ยังคงมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์
ชุดยูนิฟอร์ม ชุดช่าง – ไฟฟ้า
เนื่องจากช่างไฟฟ้าจำเป็นที่จะต้องทำงานกับกระแสไฟฟ้าตลอดเวลา ทั้งในและนอกสถานที่ นอกจากจะต้องมีเครื่องมือที่ครบครันแล้ว การมีชุดช่างไฟฟ้าที่ดีและเหมาะสมก็เป็นสิ่งจำเป็นมากๆสิ่งหนึ่งสำหรับช่างไฟฟ้าเช่นกัน ซึ่งหากสวมใส่ชุดช่างที่ไม่เหมาะสมกับการทำงานไฟฟ้า อาจจะมีรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายและอาจจะก่อให่้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ชุดยูนิฟอร์มของช่างไฟฟ้าจึงต้องมีความเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี สามารถป้องกันอันตารายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าได้ในระดับที่ดี ชุดยูนิฟอร์มที่เหมาะสมคือจั๊มสูทหรือชุดหมีช่างที่ทำจากผ้าฝ้ายที่มีความหนาและถุงมือยางกันไฟฟ้า ที่สามารถทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้ และควรสวมใส่รองเท้าบูทที่ทำจากยางสังเคราะห์เนื้อหนา เนื่องจากสามารถทนกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างไฟฟ้าลัดวงจร ก็จะทำให้ผู้สวมใส่ปลอดภัยเพราะได้สวมใส่เครื่องป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไฟผ่านได้
ชุดยูนิฟอร์ม ชุดช่าง – ประปา
มีความตรงกันข้ามกันกับช่างไฟฟ้า ที่มักจะเจอและสัมผัสกับความร้อน แต่ช่างประปามักจะพบเจอและสัมผัสกับน้ำที่อาจจะพบเจอความร้อนที่น้อยกว่าช่างไฟฟ้า ทำให้ชุดช่างที่เหมาะสมกับช่างประปา ควรเป็นชุดที่ไม่อุ้มน้ำหรือกันน้ำ เนื้อผ้าแห้งไว เพื่อที่จะไม่รู้สึกเปียกหรืออับในเวลาที่ปฏิบัติงาน เพราะหากมีความเปียกหรืออับชื้นในชุดแล้ว จะทำให้ช่างประปาทำงานได้ลำบากมากขึ้น ซึ่งผ้าที่ลักษณะกันน้ำนั้นจะมีสารเคลือบกันน้ำอยู่ 2 ชนิด คือ สาร PVC (Polyvinyl chloride) และ สาร PU (Polyurethane) ผ้าที่เคลือบด้วย PVC หลังผ้าจะมีลักษณะคล้ายเคลือบยาง ซึ่งผ้าที่ผ่านการเคลือบจะมีความหนาขึ้นแข็งขึ้น การเคลือบผ้าด้วยสาร PVC นอกจากจะเพิ่มคุณสมบัติการกันน้ำยังเพิ่มความทนทานให้กับเนื้อผ้ามากขึ้นด้วย ส่วนการเคลือบผ้าด้วย PU หลังผ้าที่เคลือบจะมีลักษณะเหมือนมีฟิล์มบางฉาบเนื้อผ้าไว้ อีกทั้งการปฏิบัติงานอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน อาจมีสารเคมี สิ่งสกปรก หรือแบคทีเรียที่เจือปนมากับน้ำ ดังนั้นการมีชุดช่างที่มีเนื้อผ้าที่กันน้ำ และแห้งไว ก็ยังช่วยในเรื่องของแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ ไม่ให้สัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกายของเราได้ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นอีกด้วย ซึ่งถุงมือและรองเท้าที่มีลักษณะหนา และสามารถกันน้ำได้ ก็เป็นอีก 2 สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่างประปาจำเป็นจะต้องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ผ้าที่แห้งไวที่แนะนำก็คือ ผ้าที่ทำจาก polyester 100 percent เช่น ผ้าดีวาย ผ้าร่ม
ชุดยูนิฟอร์ม ชุดช่าง – เครื่องยนต์
ช่างยนต์จึงเป็นช่างที่มักจะอยู่กับเครื่องยนต์ น้ำมัน ความร้อน และฝุ่นควัน ทำให้ชุดยูนิฟอร์มของช่างยนต์มักจะเปื้อนสี ฝุ่นควัน หรือคราบน้ำมันเสมอ ชุดช่างยนต์จึงควรเป็นชุดยูนิฟอร์มที่ผ้าไม่หนามาก สามารถทำความสะอาดได้ง่าย มีสัดส่วนของกระชับและพอดีกับร่างกาย เนื่องจากช่างยนต์จะต้องพบเจอกับส่วนประกอบของเครื่องยนต์ที่ทั้งที่เล็กและใหญ่ แขนเสื้อหรือชายเสื้อที่ไม่กระชับและพอดีตัวอาจจะไปเกาะติดชิ้นส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการทำงานได้
เนื่องจากอาชีพช่าง เป็นอาชีพที่มีเปอร์เซ็นในการทำงานบนความเสี่ยงค่อนข้างสูง หากเลือกใช้ยูนิฟอร์มที่ตัดเย็บอย่างไม่ได้มาตรฐาน เช่น เลือกผ้าคุณภาพต่ำมาตัดเย็บ ชุดช่างที่ไม่มีผ้าแถบที่สะท้อนแสง ชุดไม่ทนต่อความร้อนหรือระบายอากาศได้ไม่ดี หรือการที่มีช่องสำหรับเก็บอุปกรณ์ไม่ครบ อาจจะทำให้ช่างทำงานได้ไม่สะดวก นำไปสู่การทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้นการเลือกชุดยูนิฟอร์มช่างที่ได้มาตราฐาน จัดเป็นการอำนวยความสะดวกให้อาชีพและเพิ่มเติมความสบายให้กับผู้สวมใส่และความน่าเชื่อถือต่อผู้รับบริการ ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
โอที อินเตอร์เทรด บริษัทชั้นนำที่จัดหา ผลิต และสร้างสรรค์สินค้าเพื่อความปลอดภัยคุณภาพเยี่ยมและชุดทำงานที่ลูกค้าไว้วางใจมากว่า 35 ปี มาที่เราที่เดียว ได้ของครบ จบทุกรายการ จัดจำหน่ายทั้งอุปกรณ์จราจร ผลิตภัณฑ์สะท้อนแสง อุปกรณ์เซฟตี้ ป้ายสัญลักษณ์ และชุดยูนิฟอร์ม สนใจ ชุดช่าง เสื้อช่าง กางเกงช่าง สามารถปรึกษา เลือกชนิดผ้าให้ถูกต้องกับลักษณะงาน ช่วยออกแบบ ประเมินราคา สั่งผลิต ได้ที่ โอที อินเตอร์เทรด หรือสามารถซื้อยูนิฟอร์มสำเร็จรูป ได้ที่เราเช่นกัน
เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่
www.otintertrade.com
โทร : 02-197-5945 (7 คู่สาย) หรือ โทร. 086-373-1708 (คุณจิ๊ด)
E-Mail: [email protected]
LINE: @otintertrade
Facebook: https://www.facebook.com/OTIntertrade/
Youtube: OT Intertrade