แถบผ้าสะท้อนแสง เลือกอย่างไรถึงจะปลอดภัย
มีหลายคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ท้องถนนเวลาตอนกลางคืน และก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำงานในเวลากลางคืนเช่นกัน แล้วทั้งคนใช้รถบนท้องถนนกับคนทำงานในเวลากลางคืนจะเกิดความปลอดภัยได้อย่างไร
อันตรายจากการทำงานในเวลากลางคืนหรือในสภาวะแสงน้อย ในเวลากลางวันมีปริมาณแสงสว่างมาก วัตถุบนถนนจะถูกมอง เห็นได้ชัดเจนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสามารถของดวงตามนุษย์ในการแยกแยะรายละเอียดขนาดเล็กในภาพที่เห็น ขณะที่ในเวลากลางคืนความแตกต่างของความสว่างจะมีความสำคัญมากกว่า ดังนั้นการถูกมองเห็นอย่างชัดเจนในเวลากลางคืนจึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการสร้างความแตกต่างของความสว่างให้ปรากฏแก่ผู้มองวัตถุ และสามารถแยกแยะได้ว่านี่คือมนุษย์หรือสิ่งของ
สำหรับช่วงเวลากลางคืน การเพิ่มความสามารถในการถูกมองเห็นของวัตถุ ต้องใช้วัสดุเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นหรือวัสดุสะท้อนแสงเข้ามาช่วย ซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ต้องมีความสว่างเพียงพอเมื่ออยู่บนร่างกายของพนักงาน เพื่อให้สามารถถูกมองเห็นได้จากระยะปลอดภัยที่ต้องการ
2. ต้องถูกมองเห็นได้อย่างเด่นชัดจากทุกทิศทางไม่ว่าพนักงาน จะเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวในอิริยาบถใด (ให้ความปลอดภัยแบบ 360 องศา)
3.ต้องมีการออกแบบรูปแบบในการติดวัสดุสะท้อนแสงลงบนเสื้อผ้า ให้ผู้มองเห็นรับรู้ได้ว่าวัตถุที่เห็นเด่นชัดนั้นคือมนุษย์ นั่นคือ ผู้สังเกตจะต้องแยกแยะได้ว่าที่เห็นนั้นคือพนักงานมิใช่เครื่องจักร หรือ รถยนต์ หรือวัตถุอื่นใด
4. สามารถแสดงให้ผู้มองเห็นรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของพนักงานได้มากที่สุด และแม้ไม่มีการเคลื่อนไหว ผู้สังเกตก็จะต้องสามารถเห็น พนักงานได้อย่างชัดเจนเช่นกัน
เคยสังเกตหรือนึกสงสัยกันหรือไม่ ว่าเสื้อสะท้อนแสงที่เราเคยใส่หรือเคยเห็น มันสะท้อนแสงได้อย่างไรกัน ในตัวแถบของเสื้อมีการติดวัสดุอะไรถึงสะท้อนแสงออกมาได้
แถบสะท้อนแสงสำหรับติดบนเสื้อผ้าหรือชุด มีวัสดุสะท้อนแสงใช้กระบวนการทางฟิสิกส์ที่รู้จักกันในชื่อ Retroreflection โดยใช้เม็ดลูกแก้วทรงกลมขนาดเล็ก (Tiny glass beads) หรือไมโครปริซึมขนาดเล็ก (Prismatic elements) จำนวนหลายล้านชิ้น สะท้อนแสงที่ตกกระทบให้โฟกัสกลับไปในทิศทางที่แสงถูกส่องเข้ามา ช่วยให้พนักงานที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ติดด้วยแถบสะท้อนแสง ถูกสังเกตเห็นจากผู้ขับขี่รถได้ชัดเจนจากระยะที่ไกลกว่า จึงมีเวลาในการชะลอ หยุด หรือเบี่ยงเส้นทางหลบเลี่ยงได้ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ มีการประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเย็บติดกับเสื้อผ้า การเชื่อมติด มี 2 แบบ คือ
1. เทคโนโลยีเม็ดลูกแก้ว (Tiny glass beads) แสงที่เข้ามาจะถูกหักเหเมื่อผ่านผิวด้านหน้าของลูกแก้วแล้ว สะท้อนกลับเมื่อกระทบกับกระจกที่อยู่ด้านหลังลูกปัด โดยแสงที่สะท้อน กลับจะหักเหอีกครั้งเมื่อวิ่งผ่านผิวด้านหน้าของลูกแก้วกลับออกไป วัสดุสะท้อนแสงที่ใช้เทคโนโลยีเม็ดลูกแก้ว มีลักษณะเด่น ดังนี้
– เรียบ ให้ความรู้สึกเหมือนเนื้อผ้าเมื่อสัมผัส
– มีหน้ากว้างและรูปแบบให้เลือกหลากหลาย
– ใช้งานง่ายและสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย
– ใช้งานในสภาวะแวดล้อมที่เปียกชื้นได้
– ทนทาน สามารถซักได้ด้วยเครื่องซักผ้าทั้งชนิดธรรมดาและ ชนิดอุตสาหกรรม
2. เทคโนโลยีปริซึม(Prismatic elements) ปริซึมขนาดเล็กแบบมุมลูกบาศก์ ถูกจัดวางเรียงกันจนเป็นแผ่น อย่างเป็นระเบียบ ขณะถูกมองเห็นใน เวลากลางวัน ปริซึมแก้วขนาดเล็กแต่ละอันจะมีผิวสะท้อนแสงที่ตั้งฉาก กัน 3 อัน แสงที่ผ่านเข้ามาจะหักเหผ่านพื้นผิวแต่ละอันและสะท้อน กลับไปในทิศทางของกำเนิดแสง เหมือนลูกบอลกระเด้งกลับทางเดิมที่มุมของผนัง แถบสะท้อนแสงที่ใช้เทคโนโลยีปริซึม มีลักษณะเด่น ดังนี้
– เป็นชนิดสีฟลูออเรสเซนต์
– ให้ความรู้สึกมันวาว
– ใช้งานง่ายและสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย
ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ ได้ดี เนื่องจากมีแผ่นฟิล์ม พลาสติกปิดด้านหน้า
– ทนทาน และสามารถซักทำความสะอาดได้
มาตรฐานสำหรับวัสดุสะท้อนแสง
เสื้อผ้าที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นเพื่อความปลอดภัยของผู้สวมใส่ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ANSI 107/ISEA มีข้อกำหนดสำคัญ คือ ชุดต้องมองเห็นได้ 360 องศา มองเห็นได้จากทุกทิศทางไม่ว่าจะติดด้วยวัสดุสะท้อนแสงหรือใช้วัสดุที่ ถูกมองเห็นได้ง่าย ที่ช่วยให้สัญญาณบ่งบอกตำแหน่งของผู้สวมใส่โดยผู้สังเกตด้วยตา ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณถนนและไหล่ทางทุกคนรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงต้องสวมใส่ชุดเครื่องแบบที่ผ่านมาตรฐานนี้ ตามมาตรฐาน ANSI/ISEA 107 จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับชั้น (Class) ได้แก่ 1 2 หรือ 3 ขึ้นกับพื้นที่ของวัสดุสะท้อนแสงที่ติดบนชุดกับพื้นที่เสื้อผ้าทั้งชุด ซึ่งจะช่วยให้สามารถเลือกใช้ชุดเครื่องแบบได้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน สภาพแวดล้อม และความเสี่ยงโดย ระดับชั้น (Class ) ที่สูงกว่าจะมีพื้นที่ของวัสดุสะท้อนแสงติดบนชุดมากกว่า ดังตาราง ต่อไปนี้
ระดับชั้น(Class) | ข้อกำหนดการใช้งาน |
1 | • ผู้ปฏิบัติงานสามารถถูกมองเห็นได้อย่างเด่นชัดจากผู้ใช้รถใช้ถนน • สามารถแยกแยะผู้ปฏิบัติงานในสภาวะที่มีการสัญจรโดยสามารถ บอกตำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานยืนอยู่ได้ • พื้นหลังหรือสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน • ความเร็วในการเคลื่อนที่ของรถยนต์ไม่เกิน25 ไมล์ต่อชม. (40กม.ต่อชม.) |
2 | • สามารถถูกมองเห็นในขณะทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดีเนื่องจาก สภาพอากาศ • พื้นหลังหรือสภาพแวดล้อมโดยรอบมีความซับซ้อน • พนักงานปฏิบัติงานที่มีส่วนเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ใช้รถใช้ถนน • ความเร็วในการเคลื่อนที่ของรถยนต์25 – 50 ไมล์ต่อชม. (40 – 80กม.ต่อชม.) • ผู้ปฏิบัติงานทำ งานบนหรือใกล้เคียงกับพื้นผิวจราจร • เหมาะกับงานจราจรที่อยู่ใกล้ท้องถนน |
3 | •ความเร็วในการเคลื่อนที่ของรถยนต์มากกว่า 50 ไมล์ต่อชม. (80กม.ต่อชม.) • ผู้ปฏิบัติงานทำงานที่มีความยุ่งยากซับซ้อน • ผู้ปฏิบัติงานจะต้องถูกเห็นอย่างเด่นชัดทั่วทั้งร่างกายและบ่งบอก ได้ว่าเป็นคนจากระยะทางห่างอย่างน้อย390 เมตรก่อนจะถึงตัว • เหมาะกับงาน พนักงาน ดับเพลิง หน่วยกู้ภัย หน่วยฉุกเฉินต่างๆ |
ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง
ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง ( coefficient of retroreflection ) หรือ R2 มีหน่วยเป็นแคนเดลาต่อลักซ์ต่อตารางเมตร
มุมแสงที่ตกกระทบ (Entrance angle ) มุมที่เกิดขึ้นระหว่างแนวของแสงจากแหล่งกำเนิดแสงทำมุมตกกระทบกับแนวตั้งฉากผิวหน้าของแผ่นสะท้อนแสง มีหน่วยเป็นองศา (°)
มุมสังเกต (Observation angle ) มุมที่เกิดขึ้นระหว่างแนวของแสงจากแหล่งกำเนิดแสงไปยังแผ่นสะท้อนแสงกับแนวแสงของผู้สังเกต มีหน่วยเป็นองศา (°)
จากรูป มุมสังเกต และขนาดรถ มีผลต่อการมองเห็นวัตถุที่สะท้อนแสงกลับมา ดังรูปข้างต้น คือระยะทางเท่ากันแต่มุมไม่เท่ากัน สังเกตว่าคนขับรถเก๋งที่นั่งต่ำกว่าและใกล้ไฟหน้ารถมากกว่ารถบรรทุก จะมีมุมสังเกต แค่ 4° และแคบกว่าคันอื่น นั้นแสดงว่ายิ่งระยะแคบยิ่งจะเห็นสิ่งที่สะท้อนกลับมาเห็นได้ชัดกว่ารถคันอื่นและขนาดของรถ มีผลต่อการมองเห็นวัตถุที่สะท้อนแสงกลับมา
จากรูปข้างต้น รถอยู่คนละช่องแต่ระยะเท่ากัน สังเกตว่า มีมุมตกกระทบ (Entrance Angle) ไม่เท่ากัน แสดงว่า ยิ่งมุมตกกระทบมีระยะที่แคบหรือน้อย การมองเห็นวัตถุที่สะท้อนแสงกลับมายิ่งชัดเจนกว่ามุมที่กว้าง
มุมสังเกต(Observation angle) | มุมตกกระทบ (Entrance angle ) | |||||
5° | 20° | 30° | 40° | |||
0.2° | 330 | 290 | 180 | 65 | ||
0.33° | 250 | 200 | 170 | 60 | ||
1° | 25 | 15 | 12 | 10 | ||
1.5° | 10 | 7 | 5 | 4 |
จากตารางข้างบน มุมสังเกต คือ 0.2° และมุมตกกระทบ คือ 5° ได้เท่ากับ 330 แสดงว่า มุมสังเกต และมุมตกกระทบยิ่งน้อยและแคบความชัดเจนในการมองเห็นยิ่งมาก วัตถุที่สะท้อนกลับมายิ่งชัดเจน แต่ถ้ามุมสังเกตและมุมตกกระทบมาก คือ มุมสังเกต เท่ากับ 1.5° และ มุมตกกระทบ เท่ากับ 40° ได้เท่ากับ 4 แสดงว่า ยิ่งมุมสังเกตและมุมตกกระทบมาก ความชัดเจนในการมองเห็นวัตถุที่สะท้อนกลับมาจะน้อยและไม่ชัดเจน
สนใจสนใจ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
- Tel: 021975945 ต่อ 12-16
- Email: [email protected]
- Website: www.otintertrade.com
- FB Page: https://www.facebook.com/OTIntertrade
- Official Line: @otintertrade (ใส่ @ ด้านหน้าด้วยนะคะ)