10 เคล็ดลับ จัดการโรงงานและไซต์ก่อสร้างให้ปลอดภัย

10 แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทํางานให้ปลอดภัย

       

            มาตรการรักษาความปลอดภัยในการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในโครงการก่อสร้างที่มีความเสี่ยงสูง เป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ทั้งบุคคลภายใน อย่างเช่น ทีมผู้รับเหมา วิศวกรของโครงการนั้น ๆ และคนงานก่อสร้างทั้งที่เป็นแรงงานมีฝีมือและไร้ฝีมือ รวมไปถึงบุคคลภายนอก อย่างเช่น ผู้ที่ต้องทำการสัญจรผ่านโครงการก่อสร้างอยู่เป็นประจำ และผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับโครงการก่อสร้าง มักจะปล่อยปละละเลย เนื่องจากขาดระเบียบ วินัย และไม่เข้าใจในเรื่องของอุปกรณ์เซฟตี้ รวมถึง การขาดมาตรการในการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด จนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันซึ่งสร้างความเสียหายที่รุนแรงทั้งต่อตัวบุคคล และทรัพย์สินมีค่าได้อยู่บ่อยครั้ง

            ซึ่งแน่นอนว่าในเรื่องของอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กหรืออุบัติเหตุใหญ่ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นทั้งนั้น วันนี้เราจึงมี 10 เคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยภายในโรงงานอุตสาหกรรมและโครงการก่อสร้างมาแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนว่า ควรจะมีการปฏิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย และสามารถลดอัตราและความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

1. จัดสรรพื้นที่ปฏิบัติงานในแต่ละส่วนให้ชัดเจน

            การจัดการพื้นที่ภายในโรงงานอุตสาหกรรมและโครงการก่อสร้างควรมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับปฏิบัติงาน พื้นที่ในการติดตั้งเครื่องจักร พื้นที่ในการจัดเก็บและจัดวางอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ รวมไปถึงพื้นที่สำหรับเป็นจุดเคลื่อนย้ายและจุดเดินรถเพื่อการขนส่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน ผ่านการใช้เส้นแบ่งกำหนดเขตแดน หรือการใช้แผงกั้นจราจร เสากั้นทางเดิน เสาเหล็กกันชนหรือ กรวยจราจรเป็นตัวกั้น เพื่อเป็นการช่วยแจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการจะเข้าไปปฏิบัติงานยังพื้นที่ในส่วนนั้น ๆ สามารถจัดเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้ อย่างเช่น หมวกเซฟตี้ และแว่นตานิรภัย เพื่อการระมัดระวังตนเองและเพื่อนร่วมงานจากการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันจากการเดินสะดุด การลื่น หรือการเดินชนกับผู้อื่น ใส่แว่นหรือหมวก อาจไม่ได้ช่วยป้องกันการเดินสะดุด ได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการจัดแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงานอย่างชัดเจนภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ยังเป็นการช่วยคัดแยกผู้ปฏิบัติงานที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ไม่รู้ถึงขั้นตอนในการทำงานออกจากสถานที่ปฏิบัติงานเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันลงได้

 

2. ดูแลรักษาพื้นที่ปฏิบัติงานให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
            นอกเหนือไปการจัดสรรพื้นที่ปฏิบัติงานให้ชัดเจนเพื่อการควบคุมและดูแลความปลอดภัยได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วนั้น การหมั่นดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่ปฏิบัติงานให้มีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่อย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับทั้งผู้ปฏิบัติงานและทรัพย์สินภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโครงการก่อสร้างได้ โดยหัวใจสำคัญของการดูแลรักษาพื้นที่ปฏิบัติงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยนั้น คือ การที่ผู้ที่ปฏิบัติงานหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ ควรจะต้องหมั่นจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำงาน รวมไปถึงอุปกรณ์เซฟตี้ต่าง ๆ ให้เข้าที่เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการหยิบใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมไปถึงคอยหมั่นตรวจสอบและนำเอาวัตถุหรืออุปกรณ์ที่เป็นอันตราย หรืออุปกรณ์เซฟตี้

 

3. จัดเตรียมอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานควบคู่ไปกับการควบคุมด้านวิศวกรรมที่มีประสิทธิภาพ
            การออกมาตรการให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้เพื่อการรักษาความปลอดส่วนบุคคล อย่างเช่น หมวกเซฟตี้ อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นตานิรภัย ถุงมือนิรภัย รองเท้านิรภัย และหน้ากากกรองฝุ่นละออง เป็นต้น เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญที่สามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้ปฏิบัติงาน รวมไปถึงสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุให้ลดน้อยลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปฏิบัติงานจริงก็มักจะมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อตกลงและไม่สวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้เพื่อการรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างถูกต้อง ด้วยเหตุผลทั้งในด้านของความสะดวก คล่องตัว และในด้านของความสวยงาม ส่งผลให้หัวหน้างานหรือผู้ที่มีหน้าดูแลรับผิดชอบในการปฏิบัติงานจำเป็นจะต้องมีการออกระเบียบควบคุมที่เข้มงวด ควบคู่ไปกับการวางแผนในด้านวิศวกรรมเพื่อช่วยควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงงานอุตสาหกรรมและโครงการก่อสร้างให้มีความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน

 

4. พูดคุยชี้แจงถึงคำแนะนำในการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยอย่างชัดเจน
            แม้ว่าจะมีการออกกฎระเบียบหรือมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโครงการก่อสร้างอย่างเป็นลายลักษณ์แล้ว แต่หัวหน้างานหรือผู้ที่มีหน้าดูแลรับผิดชอบในการปฏิบัติงานก็จำเป็นที่จะต้องทำการเรียกพนักงานที่อยู่ภายใต้การปกครองทุกคนเข้ามาพูดคุยและชี้แจงเกี่ยวกับกฎระเบียบ มาตรการรักษาความปลอดภัย และมาตรการในการสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล อย่างชัดเจนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อมีต้องมีการปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานที่ไม่ใช่พนักงานประจำ พนักงานชาวต่างชาติ หรือพนักงานที่เพิ่งเข้ามาปฏิบัติงานใหม่ ที่ยังไม่เคยทราบถึงกฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ มาก่อน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนสามารถปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยลงได้มากที่สุด

 

5. จัดการฝึกอบรมเพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือกับอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน
            ในการปฏิบัติงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในโครงการก่อสร้างที่มีความเสี่ยงสูงนั้น ผู้ปฏิบัติงานทุกคนไม่มีทางรับรู้ได้เลยว่าจะมีอุบัติเหตุอะไรที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับตัวเองหรือเพื่อนร่วมงานบ้าง เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง การจำลองสถานการณ์ ที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโครงการก่อสร้าง พร้อมทำการจำลองสถานการณ์นั้น ๆ แบบเสมือนจริงขึ้นเพื่อให้พนักงานทุกคนได้เรียนรู้ถึงการแก้ปัญหา วิธีการรับมือกับปัญหาดังกล่าวแบบเฉพาะหน้า และแนวทางในการป้องกันไม่ให้สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง ผ่านการสอดแทรกถึงความสำคัญของกฎระเบียบและมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมไปถึงความปลอดภัยของการสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้เพื่อช่วยเพิ่มการตระหนักรู้ต่อความสำคัญของอุปกรณ์ดังกล่าวที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินของทั้งตัวผู้ปฏิบัติงานเองและตัวเพื่อนร่วมงาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

6. หมั่นเอาใจใส่และดูแลพนักงานอย่างสม่ำเสมอ
            อีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การกำกับดูแลให้พนักงานคอยสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างถูกต้อง คือการหมั่นเอาใจใส่และดูแลความเป็นไปของพนักงานที่ปฏิบัติงานภายใต้การปกครองอย่างสม่ำเสมอว่า พนักงานมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงรวมถึงมีความพร้อมในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือไม่ เพราะในบางครั้งการฝืนทำงานเมื่อเกิดการเจ็บป่วยก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่จะนำมาซึ่งความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการที่พนักงานไม่สามารถควบคุมและดูแลตนเอง รวมไปถึงไม่สามารถใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

7. ศึกษารายละเอียดของงานอย่างถี่ถ้วนก่อนการมอบหมายงาน
            ในการปฏิบัติงานทุกครั้ง หัวหน้างานหรือผู้ที่มีหน้าดูแลรับผิดชอบในการปฏิบัติงานก็จำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดของงานอย่างละเอียดและถี่ถ้วนก่อนการมอบหมายงานให้กับพนักงานของตนเองทุกครั้ง เพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์และประเมินความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่กำลังจะได้รับมอบหมายให้ทำงานในส่วนนั้น ๆ ได้ว่า มีความรู้และความสามารถมากเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยหรือไม่ หากไม่สามารถทำได้ก็ควรที่จะมอบหมายงานให้กับผู้อื่น หรือหากลองพิจารณาดูแล้วว่าไม่มีผู้ที่จะสามารถรับผิดชอบงานในส่วนนี้จริง ๆ ก็จะได้แจ้งกับทางผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดเพื่อการดำเนินจัดหาและจัดจ้างคนที่มีศักยภาพเพียงพอให้เข้ามาทำงานในส่วนนี้ และนอกจากนี้หัวหน้างานหรือผู้ที่มีหน้าดูแลรับผิดชอบในการปฏิบัติงานยังควรที่จะต้องทำการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน และควรทำการจัดเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้ อย่างเช่น หมวกนิรภัย และแว่นตานิรภัย ให้กับพนักงานผู้ปฏิบัติงานเพื่อการทำงานได้อย่างปลอดภัยด้วยเช่นกัน

 

8. ดูแลรักษาเครื่องมือในการทำงานและอุปกรณ์เซฟตี้ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ
            สำหรับเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมไปถึงอุปกรณ์เซฟตี้ อย่าง หมวกเซฟตี้ และแว่นตานิรภัย นั้น เมื่อมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็ย่อมต้องเกิดการชำรุดหรือสึกหรอเป็นธรรมดา ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจึงควรหมั่นดูแลรักษาและตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์เซฟตี้ของตนเองให้มีความพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่อย่างเสมอ หากพบว่ามีการชำรุดหรือเสียหายควรรีบทำการแจ้งให้หัวหน้างานหรือผู้ที่มีหน้าดูแลรับผิดชอบในการปฏิบัติงานทราบ เพื่อทำการเปลี่ยนเครื่องมือหรืออุปกรณ์เซฟตี้เป็นชุดใหม่ในทันที และหากในระหว่างการปฏิบัติงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมและในโครงการก่อสร้างนั้น ผู้ปฏิบัติงานมีการพบเห็นว่าอุปกรณ์หรือเครื่องจักรใด ๆ เกิดความชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ควรรีบทำการปิดใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องจักรนั้น ๆ พร้อมทำงานปิดป้ายแจ้งเตือนเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานคนอื่น ๆ ได้รับบาดเจ็บจากการใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เกิดการชำรุดเสียหายได้

 

9. หลีกเลี่ยงอันตรายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น
            ในการปฏิบัติงานจริงภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือภายในโครงการก่อสร้างที่มีความเสี่ยงสูง หากผู้ปฏิบัติงานพิจารณาดูแล้วว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เซฟตี้ เครื่องมือ เครื่องจักร หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมในการทำงานนั้นอยู่ลักษณะที่อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ การเกิดการบาดเจ็บ หรือการเกิดความเจ็บป่วยที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายแรงจากกระบวนการทำงานที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ผู้ปฏิบัติงานควรทำการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว แล้วรีบทำการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้หัวหน้างานหรือผู้ที่มีหน้าดูแลรับผิดชอบในการปฏิบัติงานทราบในทันที เพื่อให้หัวหน้างานหรือผู้ที่มีหน้าดูแลรับผิดชอบในการปฏิบัติงานลงมาตรวจสอบ และจัดเตรียมความพร้อมทั้งในด้านสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และอุปกรณ์เซฟตี้ ที่จะช่วยให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

 

10. ให้ความสำคัญกับการดูแลสภาพแวดล้อมภายในโรงงานอุตสาหกรรมและโครงการก่อสร้างให้ปลอดภัย

            การออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงาน ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตัวบุคคลและทรัพย์สิน ควบคู่ไปกับการสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ภายในโรงงานอุตสาหกรรมและโครงการก่อสร้างยกตัวอย่างเช่น มีการจัดเตรียมความพร้อมของสถานที่โดยการติดหลอดไฟเพื่อช่วยให้แสงสว่างในระหว่างการทำงานในบริเวณที่เป็นมุมมืด หรือเป็นจุดบอดที่คนมักจะมองข้ามไป รวมไปถึงควรมีการจัดวางแผงกั้นจราจร กรวยจราจรต่าง ๆ โดยกั้นรอบสถานที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอันตรายจากการที่วัสดุอาจหรือหล่นลงไป จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณโดยรอบได้ และนอกจากนี้ยังควรมีการติดป้ายหรือทำสัญลักษณ์แจ้งเตือนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเพื่อเป็นการแจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานคนอื่น ๆ รับรู้และระวังตัวเองได้อย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น การแจ้งเตือนว่าในบริเวณนี้สามารถรองรับน้ำหนักได้มากหรือน้อยแค่ไหน หรือในบริเวณนี้เป็นจุดที่ห้ามผ่าน เป็นต้น

       

              โอที อินเตอร์เทรด คือผู้ผลิต นำเข้า และจำหน่ายสินค้าด้านความปลอดภัยหลากหลายชนิดรวมถึง อุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล หมวกเซฟตี้ แว่นตานิรภัย ปลั๊กอุดหู ถุงมือ รองเท้าเซฟตี้ กรวยจราจร แผงกั้นจราจร เสาเหล็กและอื่น ๆ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร เพราะเราอยากให้โลกนี้ปลอดภัยยิ่งขึ้น

สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
www.otintertrade.com
โทร : 02-197-5945 ต่อ 12-16
E-Mail: [email protected]
LINE: @otintertrade (ใส่ @ ด้านหน้าด้วยนะคะ)
Facebook: https://www.facebook.com/OTIntertrade/
Youtube: OT Intertrade